ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชนเผ่าเมี่ยน : การละเล่น

 ชนเผ่าเมี่ยน : การละเล่น

ในชีวิตประจำวันของเมี่ยน การละเล่นที่แสดงออกถึงความรื่นเริงตามประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ กล่าวได้ว่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการละเล่นในวัยผู้ใหญ่หรือวัยหนุ่มสาว ส่วนการละเล่นของเด็ก ๆ มีเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การเล่นไล่จับกัน ซึ่งเล่นรวมกันทั้งเด็กชายและหญิง การเล่นลูกข่าง การเดินไม้โกงกาง เมี่ยนไม่มีการละเล่นตามประเพณีประจำเทศกาลที่มีรูปแบบชัดเจน โดยเฉพาะการละเล่นของเมี่ยน มักเป็นการละเล่นที่อาศัยเล่นในโอกาสของงานพิธีกรรมต่าง ๆ และก็มักจะเป็นพิธีแต่งงานกับวันปีใหม่เท่านั้น ที่สามารถแสดงการละเล่นได้อย่างสนุกสนานเต็มที่
การละเล่นของเมี่ยน ได้แก่
1. หนังสติ๊ก (ถางกง)
ทำมาจากไม้ เมี่ยนจะนำไม้ประมาณเท่ากับแขนที่ปลายแยกออกจากกัน นำมาแต่งให้สวยและพอกับมือจับ เอาหนังยางมามัดให้สามารถดึงแล้วยิงได้ วิธีการเล่น นำก้อนหินมาวางตรงที่เป็นยาง ดึงแล้วปล่อยใช่เล่นยิงแข่งกัน
2. ปืนไม้ไผ้ (พ้าง พ้าง)
เป็นของเล่นที่เด็กนิยมเล่นกันมาก วิธีการทำ คือ เอาไม้ไผ่ลำใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร มาทำเป็นกระบอกปืน และเหลาไม้อีกอันมาใช้สำหรับเป็นตัวยิง จะนำผลของต้นไม้ชนิดหนึ่งมาเป็นกระสุนในการเล่น เมี่ยนเรียกว่าพ้าง พ้างเปี้ยว
3. กระบอกสูบน้ำ (เฮ้าดงแฟะ)
เป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่ทำมาจากไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ที่ค่อนข้างแก่ทำเป็นตัวกระบอก และทำที่สูบโดยการตัดรองเท้าแตะเก่า ๆ หรือเอายางมามัดเป็นวงกลมเสีบบกับที่สูบ การเล่นจะใช้กระบอกสูบน้ำขึ้นมาแล้วก็ดันน้ำออกใส่กับเพื่อน ๆ ที่เล่นด้วย จะเล่นในช่วงฤดูร้อน
4.ไม้โกงกาง (ม่าเกะเฮ้า)
ไม้โกงกางทำมาจากไม้ไผ่ ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ตรงขาเหยียบจะสูงขึ้นมาจากพื้นประมาณ 50 ซม. หรือจะสูงกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นการละเล่นที่ถือว่าสนุกสนานมากในวัยเด็ก สามารถเล่นได้ทุกฤดูกาล วิธีการเล่น คือ ขึ้นไปเหยียบแล้วก็วิ่งแข่งกัน
5. ขาหยั่งเชื่อก (ม่าเกะฮาง)
เป็นขาหยั่งที่ทำมาจากเชือก การละเล่นก็จะนำไม้ไผ่มาตัดเหลือไว้แค่ข้อต่อที่กั้นระหว่างป้องเท่านั้น เจาะรูแล้วนำเชือกสอดทั้ง 2 ข้าง การเล่นก็เหมือนกับขาหยั่งธรรมดาเพียงแค่ใช้ขาเหนีบที่เชือกเท่านั้นเอง
6. ลูกข่าง (ตะโหลย)
การละเล่นลูกข่างเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นการละเล่นของผู้ชาย โดยเมื่อถึงเวลาที่เว้นว่างจากการทำไร่ทำสวน ผู้ชายจะออกจากบ้านตั้งแต่เช้า เพื่อจะไปตัดไม้เนื้อแข็งสำหรับมาทำเป็นลูกข่าง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะเริ่มทำลูกข่างโดยเหลาปลายไม้ให้แหลม ๆ บางคนจะใส่เหล็กตรงปลาย เพื่อให้ลูกข่างหมุนได้นาน จากนั้นก็จะมาเล่นกัน โดยแบ่งเป็นสองฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้
7. ลูกแก้ว (ปู้สี่)
ลูกแก้วนี้ถือว่าเป็นของเล่นอีกอย่างหนึ่งของเด็กเมี่ยน เมื่อถึงช่วงฤดูกาลหนึ่ง เด็กเมี่ยนก็จะเปลี่ยนของเล่นไปตามฤดูกาลนั้น การเล่นลูกแก้วนี้ก็ถือว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งของการละเล่น การเล่นลูกแก้วนี้จะนำลูกแก้วมาตีแข่งกันโดยใช้มือเล่น จะมีหลุมอยู่หลุมหนึ่งเพื่อการเล่น
8. ก้านกล้วย (น้อมจิวแฝด)
จะนำก้านกล้วยมาตัดใบทิ้ง ตัดก้านให้เป็นแฉก ๆ ให้ตั้งขึ้นหลาย ๆ อัน แล้วใช้มือปัดลงเร็ว ๆ ก็จะมีเสียงเกิดขึ้นมาอย่างไพเราะ การเล่นชนิดนี้เป็นการละเล่นที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เด็กเล็ก ๆ จะนิยมเล่นมาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ

 การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ    จำนวนผู้เล่น   2 - 4 คน วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเร...

การเล่นเพลงยิ้มใย

 การเล่นเพลงยิ้มใย ภาค     ภาคเหนือ จังหวัด  สุโขทัย เพลงยิ้มใย ปัจจุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้อง คือ จะมีลูกคู่ร้องสอดรับคำว่า เชียะ เชียะ เชียะ ที่ท่อนกลางของเนื้อร้องท่อนที่หนึ่งกับร้องรับทวนซ้ำสองบทหลังสอง ครั้งแล้วจึงลงคำว่า เอ๋ยแล้วเอย นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงยิ้มใยสุโขทัย ไม่พบที่ใด เพลงหน้าใยของทางภาคกลางก็มีลักษณะต่างกัน แต่เรียกชื่อคล้ายกันมาก ลักษณะการเล่น เป็นการเล่นของกลุ่มหนุ่มสาว การแต่งกาย แต่งกายอย่างชาวชนบทไทยในสมัยนั้น สถานที่ (ลานวัด และหมู่บ้านที่เป็นทางเดินแห่ขบวน) วิธีเล่น ในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ก่อนจะสรงน้ำพระจะนำพระพุทธรูปใส่เกวียนแล้วแห่รอบหมู่บ้าน จากนั้นจึงนำไปสรง เพลงยิ้มใยนี้จะร้องเล่นกันไปในระหว่างแห่พระนั่นเอง เนื้อความทำนองร้องเล่นรื่นเริงสนุกสนาน ส่วนในเทศกาลออกพรรษา ทอดผ้าป่า ทอดกฐินนั้น ก็จะร้องเล่นกันไปในขณะเดินขบวน เพลง ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย (ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย (ลูกคู่) ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถ...

วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว

 วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว (การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) การเล่นวิ่งวัวหรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า วิ่งเปี้ยว อาจเป็นการวิ่งทางตรงสวนกันหรือวิ่งเป็นวงกลมเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งไล่ให้ทันอีกฝ่ายหนึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกความเร็วและความแข็งแรง เพื่อฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อการฝึกบริหารกาย อุปกรณ์ เสา 2 หลัก ผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน รูปแบบ ปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 หลา ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนด้านหลังหลักแต่ละข้าง  วิธีการเล่น เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองฝ่าย โดยผู้เล่นของแต่ละฝ่ายวิ่งอ้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืนเมื่อถึงฝ่ายของตนให้ส่งผ้าให้คนต่อไป ถ้าผ้าของใครตกต้องหยุดเก็บผ้าก่อน หรือคนต่อไปเก็บผ้าและถือไว้ วิ่งต่อไป ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่า ฝ่ายนั้นชนะ ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นคนใดถูกตีต้องรำตามเพลงที่ผู้ตีร้อง