ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สะโป้ก

สะโป้ก

ภาคเหนือ

จังหวัด น่าน

สะโป้ก เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ซึ่งเป็นการละเล่นที่ทำให้เกิดเสียงดัง ต้นกำเนิดเสียงเกิดจากอุปกรณ์ง่ายๆ ที่ได้จากธรรมชาติ ใช้เชื้อเพลิงที่เปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซหรือไอได้ เพื่อเป็นตัวนำปะทุทำให้เกิดเสียงดัง เข้าใจว่าการละเล่นที่ทำให้เกิดเสียงดังนั้น คงเกิดจากการเรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น ลำไม้ไผ่ที่ได้รับความร้อน เมื่อเกิดไฟป่าจะแตกแล้วเกิดเสียงดังขึ้น ต่อมาจึงได้มีการตัดไม้ไผ่ใส่กองไฟ เพื่อให้เกิดเสียงระเบิดดังขึ้นเช่นเดียวกันที่เกิดขึ้นกับปรากฏกาณ์ตามธรรมชาติ ในเวลาต่อมาได้มีการคิดวิธีที่ทำให้เกิดเสียงดังโดยใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ จนคิดประดิษฐ์สะโป้กขึ้น


อุปกรณ์

๑. ไม้ไผ่ที่มีเนื้อไม้หนาประมาณ ๑ เซนติเมตร ยาว ๔-๕ ปล้อง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕-๖ นิ้ว (ไม้ไผ่ที่มีเนื้อบาง จะทำให้สะโป้กแตกง่าย นิยมใช้ไม้ซาง , ไม้บง)

๒. แก๊ซก้อน (อะซิทีลีน) หรือน้ำมันเบนซิน

วิธีทำ

๑. ตัดไม้ไผ่ยางยาวประมาณ ๔-๕ ปล้อง (ปล้องสุดท้ายตัดห่างจากข้อประมาณ ๕-๖ นี้ว หรือมากกว่านี้ เพื่อเป็นฐานสะโป้ก)

๒. ทะลุปล้องไม้ไผ่ให้เหลือปล้องสุดท้ายไว้

๓. เจาะรูที่ปล้องสุดท้ายเหนือข้อขึ้นไปประมาณ ๒-๓ นิ้วรูกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร

วิธีการเล่น

วางสะโป้กให้ตั้งเอียง นำน้ำมันเบนซินใส่ในรูที่เจาะไว้พอประมาณ (๓-๔ ลูกบาศก์เซ็นติเมตร) แล้วเอาไฟจุดที่รูน้ำมันจะติดไฟอย่างรวดเร็วในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดแรงอัดระเบิดเสียงดังขึ้น และสามารถจุดได้หลายครั้งจนไอน้ำมันมีน้อยไม่เพียงพอให้เกิดเสียงดังได้ จึงเติมน้ำมันอีก ในกรณีใช้ก๊าซก้อน นำก๊าซก้อนประมาณหัวแม่มือใส่ในสะโป้ก น้ำใส่ในรูเล็กน้อย ก๊าซก้อนทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดไอ จึงจุดไฟที่รูเช่นเดียวกับวิธีใช้เบนซิน (ไฟที่ใช้จุดต้องมีเปลว เช่น เทียนควรต่อก้านไฟชนวนให้ยาว และนำลวดพันรอบไม้ไผ่ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสะโป้กแตกได้)

โอกาสที่เล่น

สะโป้กใช้เล่นในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย (วันสงกรานต์) ตั้งแต่คือวันที่ ๑๒ เมษายน จนย่างเข้าวันที่ ๑๓เมษายน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามคติความเชื่อของชาวล้านนาว่าเป็นการส่งสังขารให้ล่วงพ้นไปกับปีเก่า ต้อนรับชีวิตที่ดีขึ้นในวันปีใหม่ นอกจากโอกาสวันสงกรานต์แล้วไม่นิยมเล่นสะโป้ก

คุณค่าของการเล่นสะโป้ก

เสียงสะโป้ก ย้ำเตือนให้ทราบว่าปีเก่าได้ผ่านไป และปีใหม่ย่างเข้ามา เป็นการเตือนให้ชาวล้านนาเตรียมจิตใจให้ผ่องใส ตั้งมั่นในความดีงาม ทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อต้อนรับสิ่งที่ดีในวันปีใหม่ต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ

 การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ    จำนวนผู้เล่น   2 - 4 คน วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเร...

การเล่นเพลงยิ้มใย

 การเล่นเพลงยิ้มใย ภาค     ภาคเหนือ จังหวัด  สุโขทัย เพลงยิ้มใย ปัจจุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้อง คือ จะมีลูกคู่ร้องสอดรับคำว่า เชียะ เชียะ เชียะ ที่ท่อนกลางของเนื้อร้องท่อนที่หนึ่งกับร้องรับทวนซ้ำสองบทหลังสอง ครั้งแล้วจึงลงคำว่า เอ๋ยแล้วเอย นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงยิ้มใยสุโขทัย ไม่พบที่ใด เพลงหน้าใยของทางภาคกลางก็มีลักษณะต่างกัน แต่เรียกชื่อคล้ายกันมาก ลักษณะการเล่น เป็นการเล่นของกลุ่มหนุ่มสาว การแต่งกาย แต่งกายอย่างชาวชนบทไทยในสมัยนั้น สถานที่ (ลานวัด และหมู่บ้านที่เป็นทางเดินแห่ขบวน) วิธีเล่น ในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ก่อนจะสรงน้ำพระจะนำพระพุทธรูปใส่เกวียนแล้วแห่รอบหมู่บ้าน จากนั้นจึงนำไปสรง เพลงยิ้มใยนี้จะร้องเล่นกันไปในระหว่างแห่พระนั่นเอง เนื้อความทำนองร้องเล่นรื่นเริงสนุกสนาน ส่วนในเทศกาลออกพรรษา ทอดผ้าป่า ทอดกฐินนั้น ก็จะร้องเล่นกันไปในขณะเดินขบวน เพลง ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย (ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย (ลูกคู่) ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถ...

วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว

 วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว (การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) การเล่นวิ่งวัวหรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า วิ่งเปี้ยว อาจเป็นการวิ่งทางตรงสวนกันหรือวิ่งเป็นวงกลมเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งไล่ให้ทันอีกฝ่ายหนึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกความเร็วและความแข็งแรง เพื่อฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อการฝึกบริหารกาย อุปกรณ์ เสา 2 หลัก ผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน รูปแบบ ปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 หลา ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนด้านหลังหลักแต่ละข้าง  วิธีการเล่น เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองฝ่าย โดยผู้เล่นของแต่ละฝ่ายวิ่งอ้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืนเมื่อถึงฝ่ายของตนให้ส่งผ้าให้คนต่อไป ถ้าผ้าของใครตกต้องหยุดเก็บผ้าก่อน หรือคนต่อไปเก็บผ้าและถือไว้ วิ่งต่อไป ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่า ฝ่ายนั้นชนะ ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นคนใดถูกตีต้องรำตามเพลงที่ผู้ตีร้อง