ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตีคลี

  • การตีคลี
  • ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • จังหวัด หนองคาย
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. ไม้สำหรับตีคลี ทำจากตอไม้ไผ่ขนาดความยาว ๑ เมตร ส่วนปลายของไม้งอนขึ้นเล็กน้อย (คล้ายไม้ฮอกกี้)
๒. ลูกคลี ทำจากไม้ทองหลางหรือขนุนเพราะมีน้ำหนักเบาสามารถตีให้ไปไกล ๆ ได้โดยกลึงให้กลม ๆ ขนาดลูกมะนาวหรือส้มโอ
๓. สนามตีคลี ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ด้านหลังปักเสาประตูไว้ตรงกลางขนาด ๑ เมตร
๔. ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๔-๕ คน

วิธีการเล่น
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนำเอาลูกคลีมากลางสนาม โดยมีหัวหน้าทีมหรือ "ผู้แทนคลี" เป็นผู้ริเริ่มเล่นเหมือนฟุตบอลฝ่ายใดสามารถตีลูกลงหลุมคลีหรือเข้าประตู ฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ

โอกาสในการเล่นตีคลี
การเล่นตีคลี ส่วนใหญ่มักจะเล่นในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูแล้งและจะเล่นกันในทุ่งนา เป็นการออกกำลังกายก่อนจะลงอาบน้ำ โดยทั่วไปมักจะเล่นในเวลากลางคืน โดยเอาลูกเผาไฟให้ลุกแดง เ มื่อตีลูกคลีก็จะกลายเป็นลูกไฟปลิวไปในสนามมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม
  • คุณค่า/สาระ

การตีคลี เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวอีสานนิยมเล่นกันมากตามชนบทสมัย โบราณ มีหลักฐานปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ ๑๔ ได้กล่าวถึงสนามคลีว่า "แต่หัวสนามถึงฉานคลีไอยการขุนดาบซ้าย แต่ฉานคลีถึงโรงช้างหล้อไอยการขุดดาบขวา " (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ :๓๗) และในมาตราที่ ๓๓ ได้กล่าวถึงข้อบังคับในการเล่นคลีไว้ว่า
"ถ้าทรงม้าคลี แลเรียกขุนหมื่นหัวพัน แลนายม้าจูงเข้าด้วยธินั่งไซ้แลชงโคนนั้นให้ล้วงท้องตัดชายหาง อย่าเอาหน้าม้า ขุนม้านั้นให้แก่หัวเทียมท้ายม้าพระธินั่ง ผู้ใดมิได้ทำตามไอยการแลละเมิดไซ้ โทษศักถ้าดาบ โทษลงหญ้า โทษฆ่าเสีย" (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ : ๔๑)

  • การตีคลีในสมัยโบราณมี ๓ ประเภท คือ

๑. คลีช้าง ผู้เล่นจะต้องขี่ช้างตี นิยมเล่นกันมากในสมัยอยุธยา
๒. คลีม้า ผู้เล่นจะต้องขี่ม้าตี นิยมเล่นกันมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๓. คลีคน ผู้เล่นเดินหรือวิ่งตี การเล่นคลีชนิดนี้จะเล่นได้ ๒ ลักษณะคือ เล่นคลีธรรมดา
กับเล่นตีคลีไฟ หรือเอาลูกเผาไฟแล้วนำเอามาตี นิยมเล่นกันมากในชนบทท้องถิ่นภาคอีสาน เช่น หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ

 การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ    จำนวนผู้เล่น   2 - 4 คน วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเร...

การเล่นเพลงยิ้มใย

 การเล่นเพลงยิ้มใย ภาค     ภาคเหนือ จังหวัด  สุโขทัย เพลงยิ้มใย ปัจจุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้อง คือ จะมีลูกคู่ร้องสอดรับคำว่า เชียะ เชียะ เชียะ ที่ท่อนกลางของเนื้อร้องท่อนที่หนึ่งกับร้องรับทวนซ้ำสองบทหลังสอง ครั้งแล้วจึงลงคำว่า เอ๋ยแล้วเอย นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงยิ้มใยสุโขทัย ไม่พบที่ใด เพลงหน้าใยของทางภาคกลางก็มีลักษณะต่างกัน แต่เรียกชื่อคล้ายกันมาก ลักษณะการเล่น เป็นการเล่นของกลุ่มหนุ่มสาว การแต่งกาย แต่งกายอย่างชาวชนบทไทยในสมัยนั้น สถานที่ (ลานวัด และหมู่บ้านที่เป็นทางเดินแห่ขบวน) วิธีเล่น ในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ก่อนจะสรงน้ำพระจะนำพระพุทธรูปใส่เกวียนแล้วแห่รอบหมู่บ้าน จากนั้นจึงนำไปสรง เพลงยิ้มใยนี้จะร้องเล่นกันไปในระหว่างแห่พระนั่นเอง เนื้อความทำนองร้องเล่นรื่นเริงสนุกสนาน ส่วนในเทศกาลออกพรรษา ทอดผ้าป่า ทอดกฐินนั้น ก็จะร้องเล่นกันไปในขณะเดินขบวน เพลง ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย (ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย (ลูกคู่) ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถ...

วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว

 วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว (การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) การเล่นวิ่งวัวหรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า วิ่งเปี้ยว อาจเป็นการวิ่งทางตรงสวนกันหรือวิ่งเป็นวงกลมเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งไล่ให้ทันอีกฝ่ายหนึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกความเร็วและความแข็งแรง เพื่อฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อการฝึกบริหารกาย อุปกรณ์ เสา 2 หลัก ผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน รูปแบบ ปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 หลา ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนด้านหลังหลักแต่ละข้าง  วิธีการเล่น เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองฝ่าย โดยผู้เล่นของแต่ละฝ่ายวิ่งอ้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืนเมื่อถึงฝ่ายของตนให้ส่งผ้าให้คนต่อไป ถ้าผ้าของใครตกต้องหยุดเก็บผ้าก่อน หรือคนต่อไปเก็บผ้าและถือไว้ วิ่งต่อไป ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่า ฝ่ายนั้นชนะ ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นคนใดถูกตีต้องรำตามเพลงที่ผู้ตีร้อง