ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลองดิน

 กลองดิน


ภาค     ภาคเหนือ
จังหวัด  ลำปาง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑. เสียม
๒. แผ่นโลหะ เช่น ฝาปี๊บ ฝาหม้ออะลูมิเนียม แผ่นสังกะสี
๓. สายเสียง ทำจากเถาวัลย์หรือเชือก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกินครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ ๑ เมตร
๔. หลักสายหรือหลักขึงสาย ทำจากกิ่งไม้ ยาวประมาณหนึ่งคืบ จำนวน ๒ หลัก
๕. หลักเสียง ทำจากกิ่งไม้ ยาวประมาณ ๑ คืบ หรืออาจยาวกว่านี้ จำนวน ๒ อัน
๖. ไม้ตี ทำจากเศษไม้หรือกิ่งไม้ ขนาดเล็กกว่านิ้วมือ ยาวพอเหมาะจำนวน ๒ อัน
วิธีทำ
๑. ขุดดินให้ปากหลุมกว้างประมาณ ๑ คืบ หรือเล็กกว่านี้ก็ได้ ความลึกไม่น้อยกว่า ๑ คืบ และให้ก้นหลุมมีความกว้างเป็นสองเท่าของปากหลุม
๒. นำฝาปี๊บหรือฝาหม้อปิดปากหลุม
๓. ขึงหลักสายให้ห่างจากปากหลุมประมาณ ๑ คืบ อีกหลักหนึ่งห่างออกไปประมาณ ๒ คืบ หรืออาจมากน้อยกว่านี้ก็ได้ โดยมีหลักการอยู่ว่าต้องห่างจากปากหลุมไม่เท่ากัน
๔. นำฝาหม้อ ฝาปี๊บ หรือแผ่นสังกะสีปิดปากหลุม
๕. เอาเถาวัลย์ขึงกับหลักสาย ไม่ต้องดึง ให้หย่อนพอที่จะเอาหลักเสียงสอดได้
๖. เอาหลักเสียงสอดเข้ากับสาย โดยให้หลักเสียงตั้งอยู่บนฝาหรือแผ่นโลหะค้ำสายเสียงหรือเถาวัลย์ไว้
๗. ทดลองปรับตั้งสายเสียง จนได้เสียงที่พอใจ

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
กลองดินเป็นกลองที่เด็กตามชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเลี้ยงควายในสมัยก่อน เมื่อหยุดพักตามร่มไม้ก็จะทำกลองดินเล่นประกอบกับการร้องเพลง หรือทำเพื่อแข่งขันกันว่าของใครจะดังกว่าหรือเสียงดีกว่ากัน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
กลองดินนอกจากจะเป็นของเล่นที่ให้ความเพลิดเพลินแก่เด็กตามชนบทแล้ว การทำกลองดินของเด็กๆ เป็นกิจกรรมทีส่งเสริมความคิดสร้างสรร เสริมสร้างความรู้พื้นบ้านทางด้านดนตรีหลายอย่าง เช่น เสียงสูงต่ำ การสะท้อนของเสียง จังหวะ การขับร้อง ตามหลักวิชาดนตรีวิทยาแล้ว เครื่องดนตรีโบราณชนิดนี้จัดเป็นพิณประเภทหนึ่ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ

 การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค: ภาคกลาง หมากเก็บ    จำนวนผู้เล่น   2 - 4 คน วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเร...

การเล่นเพลงยิ้มใย

 การเล่นเพลงยิ้มใย ภาค     ภาคเหนือ จังหวัด  สุโขทัย เพลงยิ้มใย ปัจจุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้อง คือ จะมีลูกคู่ร้องสอดรับคำว่า เชียะ เชียะ เชียะ ที่ท่อนกลางของเนื้อร้องท่อนที่หนึ่งกับร้องรับทวนซ้ำสองบทหลังสอง ครั้งแล้วจึงลงคำว่า เอ๋ยแล้วเอย นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงยิ้มใยสุโขทัย ไม่พบที่ใด เพลงหน้าใยของทางภาคกลางก็มีลักษณะต่างกัน แต่เรียกชื่อคล้ายกันมาก ลักษณะการเล่น เป็นการเล่นของกลุ่มหนุ่มสาว การแต่งกาย แต่งกายอย่างชาวชนบทไทยในสมัยนั้น สถานที่ (ลานวัด และหมู่บ้านที่เป็นทางเดินแห่ขบวน) วิธีเล่น ในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ก่อนจะสรงน้ำพระจะนำพระพุทธรูปใส่เกวียนแล้วแห่รอบหมู่บ้าน จากนั้นจึงนำไปสรง เพลงยิ้มใยนี้จะร้องเล่นกันไปในระหว่างแห่พระนั่นเอง เนื้อความทำนองร้องเล่นรื่นเริงสนุกสนาน ส่วนในเทศกาลออกพรรษา ทอดผ้าป่า ทอดกฐินนั้น ก็จะร้องเล่นกันไปในขณะเดินขบวน เพลง ลักยิ้มก็ฉันเอย นะพ่อคุณเอ๋ยยิ้มใย (ลูกคู่) เชียะ เชียะ เชียะ ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย (ลูกคู่) ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถิดเอย ตัดผมเรือนนอก ทัดแต่ดอกไม้ไหว ชมเล่นไกลๆ เอ๋ยเถ...

วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว

 วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว (การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) การเล่นวิ่งวัวหรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า วิ่งเปี้ยว อาจเป็นการวิ่งทางตรงสวนกันหรือวิ่งเป็นวงกลมเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งไล่ให้ทันอีกฝ่ายหนึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกความเร็วและความแข็งแรง เพื่อฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อการฝึกบริหารกาย อุปกรณ์ เสา 2 หลัก ผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน รูปแบบ ปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลัก ข้างละหลัก ระยะห่างประมาณ 50 หลา ผู้เล่นยืนเข้าแถวตอนด้านหลังหลักแต่ละข้าง  วิธีการเล่น เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองฝ่าย โดยผู้เล่นของแต่ละฝ่ายวิ่งอ้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืนเมื่อถึงฝ่ายของตนให้ส่งผ้าให้คนต่อไป ถ้าผ้าของใครตกต้องหยุดเก็บผ้าก่อน หรือคนต่อไปเก็บผ้าและถือไว้ วิ่งต่อไป ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่า ฝ่ายนั้นชนะ ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นคนใดถูกตีต้องรำตามเพลงที่ผู้ตีร้อง